top of page

การมุ่งจากอดีตสู่อนาคตของโรงงานอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0)

4.0.png

ในปัจจุบัน มีการแข่งขันทางด้านอุตสาหกรรมที่หลากหลาย การจะทำให้อุตสาหกรรมของคุณเข้าสู่ Industry 4.0 จึงเป็นเรื่องที่สำคัญเพื่อที่จะแข่งขันกับอุตสาหกรรมอื่นได้ โดย Industry 4.0 เป็นคำนิยามที่ใช้นิยามโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็น Intelligence Factory ขั้นกว่าของ Smart Factory เพราะเป็นการประมวลผลด้วย AI ในการที่จะเข้าใจถึง Intelligence Factory นั้น เราจำเป็นต้องทราบถึงวิวัฒนาการของอุตสาหกรรมกันก่อน  

Industry 4.0 - จากอดีตสู่อนาคตของยุคโรงงานอุตสาหกรรม
(Digital Transformation Consultant - Rungroj Srirattanaroj (Roj))

วิวัฒนาการอุตสาหกรรมตั้งแต่ 1.0 ถึง 4.0

4.01.png
4.06.png

Industry 3.0 – Factory Automation

4.04.png

การทำงานของเครื่องจักรกับไลน์การผลิตเหมือนกันกับ Industry 2.0 ข้อแตกต่างคือการนำ Information Technology เข้ามาควบคุม Assembly Line สายพานการผลิตใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุมรวมถึงการใช้โรบอท ความสะดวกสบายเพิ่มมากขึ้นจาก Industry 2.0 ความผิดพลาดลดน้อยลง โดยใน Industry 3.0 นั้นสามารถใช้คำว่า Smart factory ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ในการควบคุมและใช้แรงงานมนุษย์ในการควบคุมน้อยลง แต่ Logic ของคอมพิวเตอร์ยังคงสร้างโดยมนุษย์

Industry 2.0 – Mass Production

4.03.png

ใน Industry 2.0 เริ่มมีสายพานการผลิตเพิ่มเข้ามา เป็นตัวเชื่อมระหว่างเครื่องจักร Stand alone ตั้งแต่ Station 1 - 5 จนครบไลน์การผลิต ในระหว่างแต่ละ Station นั้นใช้ตัวสายพานลำเลียงชิ้นงานเพื่อส่งผ่านเนื้องาน จึงทำไห้คุณภาพการผลิตของ Industry 2.0 เพิ่มจาก 1.0 จึงเรียกว่า Mass Production หรือก็คือการผลิตซ้ำจำนวนมาก แต่ในการควบคุมแต่ละ Station นั้นยังใช้แรงงานมนุษย์ในกาควบคุมเครื่องจักร , การควบคุมคุณภาพชิ้นงาน , ควบคุมการเปิดปิดเครื่องจักรรวมถึงเพิ่มความเร็วหรือลดความเร็วอีกด้วย

Industry 4.0 – Mass Customization

4.05.png

มีความแตกต่างจาก 2.0 , 3.0 เนื่องจากฉลาดและมีความล้ำสมัยมากกว่า โดยกำหนดโปรดักชั่นว่าจะผลิตจำนวนมากแบบไม่ซ้ำเหมือนกับ Industry 2.0 ซึ่งเป็น Mass Customization ทุกชิ้นงาน  เช่น การผลิตสบู่ ใน Industry 2.0 สามารถผลิตได้เพียงสูตรเดียวในขณะที่ Industry 4.0 สามารถ customize ตัวสบู่ได้หลายสูตรในไลน์การผลิตเดียวกัน ซึ่งต้องใช้การประมวลผลค่อนข้างเยอะว่าชิ้นงานขิ้นนี้

ใช้สูตรใด

อยู่ในสถานะใด นอกจากเรื่อง Customization แล้วยังมีเรื่องของ Intelligence Factory โรงงานสามารถคิดและตัดสินใจแบบมนุษย์ได้ ซึ่งแตกต่างจาก Industry 3.0 ที่ทำตาม Logic ที่มนุษย์กำหนด แต่ Industry 4.0 ทำตามการตัดสินใจของ AI นั่นเอง ใน Industry 3.0 นั้นชิ้นงานที่ส่ง ต้องตรวจคุณภาพสินค้าและเป็นไปตามเกณฑ์ที่มนุษย์กำหนด มนุษย์นำกล้องไปตรวจดูว่าชิ้นงานนั้นสมบูรณ์ไหม หากไม่สมบูรณ์ก็จำกัดทิ้ง ส่วน Industry 4.0 เป็นการที่ AI คิดและประมวลผลเองทั้งหมดรวมถึงการตัดสินใจป้องกันการสูญเสียคุณภาพของสินค้าเอง

Industry 1.0 – Mechanized Production

4.02.png

ภาคการผลิตใน Industry 1.0 นั้น ไม่ได้มีเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น โรงกลึงเหล็ก นำเหล็กเข้าไปทำงานกับเครื่องจักรที่ Stand alone อยู่ ซึ่งใช้แรงงานมนุษย์ในการย้ายชิ้นงานจาก Station 1 ไป Station 2

Deep technology ที่จำเป็นต้องใช้ในการ Transform Industry 4.0

สิ่งที่จำเป็นในการทำ Industry 4.0 - การทำ Big Data

Deep Technology ที่ใช้ประกอบกันเป็น Industry 4.0 นั้นเป็นเรื่องของ Data ซึ่งเป็น Key Success การตัดสินใจของ AI ส่วนที่เป็นข้อมูลของเครื่องจักร ชิ้นงาน จำเป็นต้องนำข้อมูลออกมาวิเคราะห์ทั้งหมดจึงมีปริมาณข้อมูลมหาศาล ใน Industry 3.0 นั้นดูเพียงแค่ว่าผลิตเสร็จไปกี่ชิ้น แต่ 4.0 ต้องการอยากรู้ว่าชิ้นงานชิ้นนี้มีคุณสมบัติและคุณภาพเป็นอย่างไร ซึ่งใน  Industry 4.0 ข้อมูลที่มีมหาศาล ในส่วนของ Relational Database ไม่เพียงพอต่อการทำงานเนื่องจากประสิทธิภาพไม่มากพอ แทนที่จะใช้ Database หรือ Data Warehouse แบบเดิม Industry 4.0 นั้นจะมองถึงเลเวลของ Data Lake หรือ Big Data ดังนั้น 1 ใน Deep technology ที่เป็น Key Success จะมี Big Data เป็นหลัก

สิ่งที่จำเป็นในการทำ Industry 4.0 - IoT(การดึงข้อมูลจากเครื่องจักร)

ส่วน IoT นั้น หากในมุมของภาคการผลิต จะแบ่งเป็น 2 เลเวล คือการทำ Connectivity จากเครื่องจักรแล้วดึงข้อมูลออกมา อาจผ่าน PLC หรือ Interface ต่างๆ ซึ่งจะเรียกว่า IIoT ในขณะตัว IoT เอง จะพูดถึงเซนเซอร์ที่เพิ่มเข้าไปในเครื่องจักร แต่เดิมเครื่องจักรไม่มีเซนเซอร์ที่ใช้วัดพารามิเตอร์ จึงติดตั้ง IoT เพิ่มเข้าไป ข้อมูลจาก IoT กับ IIoT ถูกส่งที่ Big data Platform ซึ่งจะสามารถรองรับปริมาณข้อมูลที่มหาศาล ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง ข้อมูลวิดีโอ ความเร็วของข้อมูลที่แตกต่างกัน ข้อมูลที่มาจากเครื่องจักร ในขณะที่ข้อมูลอื่นมาจากแผนการผลิตบน ERP จะมาเป็น Transaction ซึ่งมีระดับความเร็วที่แตกต่างกัน

close-up-hand-holding-futuristic-screen.jpg
business-data-analysis.jpg

สิ่งที่จำเป็นในการทำ Industry 4.0 - การวิเคราะห์และการตัดสินใจโดย AI

สุดท้ายคือเรื่องของ AI เมื่อได้ Data ที่เก็บรวบรวมกันอยู่ตรงกลาง ต้องการ Data ที่ประมวลผลการตัดสินใจ การทำ Development การทำเป็น Data Model เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลบน Big Data ออกมาเป็น Result หรือเป็น Value Command ในการส่งต่อให้โรบอทหรือส่งเป็นการแจ้งเตือนให้ผู้ปฏิบัติงานทราบ ซึ่ง 3 อย่างนี้ (Big Data, IoT, AI) สำคัญอย่างยิ่งสำหรับโรงงานที่ต้องการทำ Digital Transform และจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรเพื่อให้มีความสามารถทางด้านนี้

person-using-ai-tool-job.jpg
person-using-ai-tool-job-2.jpg

การทำ Industry 4.0 โดย Manufacturing Intelligence

ในการทำ Industry 4.0 จำเป็นต้องมีแพลตฟอร์มที่ช่วยสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมให้เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ ซึ่งทาง CSI มีแพลตฟอร์มที่พัฒนามาแล้วในระยะหนึ่งโดยเป็น Platform ที่ทำงานกับโรงงาน คือ Manufacturing Intelligence และข้างในแพลตฟอร์มนั้นประกอบไปด้วย IIoT , Big Data และ AI ดังนั้นสำหรับโรงงานที่มียอดในการ transform ในสายงานการผลิตและขาด ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้หรืออาจใช้เวลางานในการพัฒนาสกิลให้แก่คน ลูกค้าสามารถที่จะใช้แพลตฟอร์มนี้ของ CSI ในการทำงานตั้งแต่วันแรก

modern-cnc-lathes-metalworking-industry.jpg
person-using-ai-tool-job-3.jpg

Products & Solutions ของ CSI ที่เกี่ยวข้อง

Manufacturing Intelligence (MI)

MI (Manufacturing Intelligence) คือ เทคโนโลยีที่ช่วยให้เครื่องจักรทำงานอย่างถูกต้องในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งจะช่วยพัฒนาการทำงานของโรงงานไปสู่ Intelligence Factory

Manufacturing Solution

CSI ให้บริการลูกค้าด้านการผลิตด้วยนวัตกรรมด้านไอที

ผู้ชายใช้เครื่องจักรตัดแท่งเหล็ก
bottom of page