คู่มือ MRP ฉบับสมบูรณ์: สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ MRP(Material Requirements Planning)
ตอนที่ 1: ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับ MRP
MRP นั้นเริ่มใช้กันมาตั้งแต่ยุค 1970 และมีประวัติยาวนานกว่า 70 ปีแล้ว แม้ว่าปัจจุบัน MRP จะถูกนำไปใช้ในระบบต่างๆ อย่างแพร่หลาย แต่ผู้คนกลับไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการเรียนรู้บทบาทและกลไกการทำงานของ MRP มากนัก การทำความเข้าใจ MRP ถือเป็นก้าวแรกสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการวางแผนการผลิต การปรับปริมาณการสั่งซื้อ และการจัดการระดับสต็อกให้เหมาะสม
ในบทความชุด "คู่มือ MRP ฉบับสมบูรณ์: สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ MRP" นี้ เราจะนำเสนอคู่มือการนำ MRP หรือ Material Requirements Planning ไปใช้ มีทั้งหมด 5 ตอน โดยจะเริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจพื้นฐานของ MRP และศึกษาถึงวิธีการนำไปใช้และประโยชน์ที่ได้รับ
บทที่ 1 : MRP คืออะไร
MRP คืออะไร: นิยามและฟังก์ชันพื้นฐานของ MRP (Material Requirements Planning)
MRP (Material Requirements Planning) เป็นระบบที่ใช้ในการปรับปรุงการจัดหาวัตถุดิบและการวางแผนการผลิตในภาคการผลิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคำนวณชนิดและปริมาณของวัตถุดิบที่จำเป็นตามตารางการผลิต และเพื่อให้มั่นใจว่ามีการจัดหาวัตถุดิบในปริมาณที่และในเวลาที่เหมาะสม MRP มีฟังก์ชันหลัก 3 ประการ ได้แก่ การจัดการสินค้าคงคลัง การวางแผนการผลิต และการจัดการการสั่งซื้อ ซึ่งช่วยลดปัญหาสินค้าคงคลังส่วนเกินและการขาดแคลนสินค้า รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
ประวัติของ MRP: MRP มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานกว่าที่คิด!
จุดเริ่มต้นของ MRP ต้องย้อนกลับไปในช่วงทศวรรษที่ 1960 ที่สหรัฐอเมริกา ในตอนนั้น MRP ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการสินค้าคงคลังและการวางแผนการผลิตที่ในอดีตต้องทำด้วยมือ ในช่วงทศวรรษที่ 1970 เมื่อคอมพิวเตอร์เริ่มแพร่หลาย ระบบ MRP ก็เริ่มถูกนำมาใช้ในองค์กรต่างๆ มากขึ้น และในช่วงทศวรรษที่ 1980 ได้มีการพัฒนาระบบ MRP II (Manufacturing Resource Planning) ซึ่งเป็นการขยายขอบเขตการจัดการไปสู่ทรัพยากรการผลิตทั้งหมด และปัจจุบันนี้ MRP ได้พัฒนาไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) ซึ่งเป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรองค์กรที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น
ข้อดีของ MRP: ใช้งาน MRP อย่างถูกต้อง ช่วยลดต้นทุนการผลิตได้!
การนำระบบ MRP มาใช้ จะช่วยให้ได้ประโยชน์ดังต่อไปนี้
-
เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการสินค้าคงคลัง: MRP ช่วยป้องกันปัญหาสินค้าคงคลังส่วนเกินและการขาดแคลนสินค้า ทำให้สามารถรักษาระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสม ซึ่งจะส่งผลให้ลดต้นทุนในการจัดเก็บสินค้าและปรับปรุงกระแสเงินสด
-
เพิ่มประสิทธิภาพการวางแผนการผลิต: การวางแผนการผลิตที่แม่นยำตามความต้องการของลูกค้า จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ทำให้สายการผลิตทำงานได้อย่างเต็มที่และป้องกันปัญหาการส่งมอบสินค้าล่าช้า
-
ลดต้นทุน: การสั่งซื้อวัตถุดิบและการวางแผนการผลิตที่เหมาะสม จะช่วยลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนในการจัดเก็บสินค้าคงคลังและต้นทุนที่เกิดจากการสั่งซื้อเร่งด่วน
การใช้ระบบ MRP ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมาก หากโรงงานของคุณมีการนำระบบ MRP มาใช้งานอยู่แล้ว การทบทวนวิธ๊การใช้งานระบบให้เข้าใจและนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสมอีกครั้งจะช่วยเพิ่มผลกำไรให้กับโรงงานได้
บทที่ 2: กลไกการทำงานของ MRP
หลังจากที่เราได้ทำความเข้าใจประวัติศาสตร์และประโยชน์ของ MRP กันไปแล้ว คราวนี้เรามาเรียนรู้กันว่า MRP ทำงานอย่างไร และเชื่อมโยงกับระบบอื่นๆ ได้อย่างไรบ้าง
องค์ประกอบสำคัญของ MRP:
ระบบ MRP (Material Requirements Planning) ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญดังต่อไปนี้
BOM (Bill of Materials)
รายการของส่วนประกอบและวัสดุทั้งหมดที่ใช้ในการผลิตสินค้าหนึ่งๆ รวมถึงจำนวนของแต่ละส่วนประกอบ ข้อมูลจำเพาะ และลำดับการประกอบ BOM เป็นรากฐานของระบบ MRP และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการวางแผนการผลิตที่แม่นยำ
MPS (Master Production Schedule)
แผนการผลิตหลัก เป็นแผนที่แสดงกำหนดการผลิตสินค้า โดยระบุว่าจะผลิตสินค้าใด จำนวนเท่าใด และในช่วงเวลาใด แผน MPS จะถูกสร้างขึ้นโดยพิจารณาจากการคาดการณ์ความต้องการและคำสั่งซื้อของลูกค้า และมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนระบบ MRP
ข้อมูลสินค้าคงคลัง
ข้อมูลนี้จะแสดงปริมาณสินค้าคงคลังปัจจุบันของแต่ละส่วนประกอบและวัสดุ รวมถึงปริมาณที่คาดว่าจะใช้และปริมาณที่คาดว่าจะได้รับเข้ามา ข้อมูลนี้ช่วยให้ระบบ MRP สามารถจัดการสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพและวางแผนการสั่งซื้อได้อย่างแม่นยำ
หลักการทำงานของ MRP
ระบบ MRP ทำงานโดยผ่านขั้นตอนหลัก 3 ขั้นตอน ได้แก่
การคาดการณ์ความต้องการ:
กระบวนการในการคาดการณ์ปริมาณความต้องการของตัวสินค้าในอนาคต โดยพิจารณาจากข้อมูลการขายในอดีต และแนวโน้มของตลาด สิ่งนี้ช่วยให้คุณปรับกำหนดการผลิตให้เหมาะสมและวางแผนการจัดหาสินค้าให้ตรงตามความต้องการได้
การวิเคราะห์สถานะสินค้าคงคลัง:
ตรวจสอบปริมาณสินค้าคงคลังปัจจุบัน เปรียบเทียบกับความต้องการในอนาคต เพื่อระบุส่วนประกอบหรือวัสดุใดที่ขาดแคลนหรือมีปริมาณเกิน
การวางแผนการสั่งซื้อ:
สร้างแผนการสั่งซื้อวัตถุดิบและส่วนประกอบที่จำเป็น โดยพิจารณาจากผลการคาดการณ์ความต้องการและการวิเคราะห์สถานะสินค้าคงคลัง ระบบ MRP ที่ทันสมัยสามารถแยกแยะระหว่างการสั่งซื้อจากภายนอกและการผลิตภายในได้ ทำให้สามารถคำนวณได้อย่างแม่นยำว่าควรสั่งซื้อจากภายนอกหรือผลิตเอง
กระบวนการทำงานของระบบ MRP
กระบวนการทำงานของระบบ MRP ครอบคลุมตั้งแต่การรับออเดอร์จนถึงการส่งมอบสินค้า
รับออเดอร์
เมื่อได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้า ระบบจะบันทึกข้อมูลคำสั่งซื้อ ข้อมูลนี้จะเป็นพื้นฐานสำหรับกำหนดการผลิตและการวางแผนสั่งซื้อ
จัดเตรียมวัสดุ
การจัดเตรียมวัสดุและส่วนประกอบที่จำเป็นจะดำเนินการตามข้อมูลการสั่งซื้อ ระบบ MRP จะอ้างอิงจาก BOM และข้อมูลสต็อกเพื่อสร้างแผนการสั่งซื้อและแผนการผลิตที่เหมาะสมที่สุด
การผลิต
เมื่อมีวัสดุพร้อม การผลิตสินค้าจะเริ่มทำงาน โดยตารางการผลิตจะถูกปรับตาม MPS
การควบคุมคุณภาพ
สินค้าที่ผลิตแล้วจะผ่านกระบวนการควบคุมคุณภาพ หากพบปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพจะมีการผลิตใหม่หรือแก้ไข
การส่งมอบ
เมื่อสินค้าถูกผลิตขึ้นอย่างสมบูรณ์และผ่านการควบคุมคุณภาพแล้ว สินค้าจะถูกจัดส่งมอบต่อ ข้อมูลการจัดส่งจะถูกบันทึกในระบบและนำไปใช้ในการปรับปรุงข้อมูลสต็อกและแผนการผลิต
ระบบ MRP เป็นระบบที่ซับซ้อนแต่มีประโยชน์อย่างมากในการบริหารจัดการกระบวนการผลิต การทำความเข้าใจหลักการทำงานของ MRP จะช่วยให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากระบบนี้ได้อย่างเต็มที่
ช่องทางการติดต่อสอบถาม
บทความนี้เป็นเพียงภาพรวมของระบบ MRP หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากแหล่งข้อมูลอื่นๆ บริษัทของเรามีบริการให้คำปรึกษาและปรับปรุงระบบ MRP หากคุณสนใจ สามารถติดต่อเราได้