การติดตั้ง RPA ในไทย ~ ครั้งที่ 2:
ข้อดีของการนำ RPA เข้ามาใช้ในประเทศไทย
สารบัญ
ครั้งก่อนนั้น ได้แนะนำถึงเรื่อง “วัตถุประสงค์ในการนำ RPA มาใช้”ซึ่งคำนึงถึงการใช้งานในประเทศไทยเป็นพื้นฐาน เช่น “RPA จะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรได้จริงหรือ” หรือเสียงคัดค้านการนำ RPA เข้ามาจากพวกพนักงาน
ต่อไป เราจะมาพูดถึงข้อดีของการนำ RPA เข้ามาใช้ในประเทศไทยกัน
สัมมนาครั้งที่ 2 นั้น จะเน้นในหัวข้อเรื่อง “การนำ RPA มาใช้ในงานที่มีลักษณะเฉพาะในประเทศไทย” ซึ่งสามารถเห็นได้จากประสบการณ์การนำ RPA มาใช้ในเคสที่ผ่านมา และวันนี้จะมาพูดถึงข้อดี 4 ข้อนั้นกัน
ชื่อเรียกเต็มๆ ของ RPA คือ “Robotic Process Automation”
พูดง่ายๆ ก็คือ เป็น IT โรบอทที่ทำงานแทนมนุษย์โดยเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการทำงานส่วนใหญ่ภายในสำนักงานให้เป็นแบบอัตโนมัติ
หมายถึง IT โรบอทสำหรับงานออฟฟิศที่ผสมผสานเทคโนโลยี Rule Engine, Image Recognition, Machine Learning และ AI เพื่อเปลี่ยนทำงานเป็นแบบอัตโนมัติและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย IT โรบอทสำหรับงานออฟฟิศจะทำงานบนคอมพิวเตอร์แทนมนุษย์
ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นโดยมนุษย์ (Human error) นั้นมีอะไรบ้าง? หากยกตัวอย่างใกล้ตัวล่ะก็ คงเป็นการใส่ข้อมูลผิดพลาดหรือทำข้อมูลตกหล่น
เป็นเรื่องปกติที่จะมี การเช็คข้อมูลโดยใช้คนหลายๆคน เพื่อป้องกันการผิดพลาดที่เกิดขึ้นโดยมนุษย์ แต่ถึงแบบนั้น เมื่อพบกับจุดที่ผิดพลาดก็เป็นการยากที่ จะสามารถหาได้ว่าจุดที่เกิดความผิดพลาดนั้นอยู่ที่ตรงไหน และลดเวลาการทำงานที่เปล่าประโยชน์ลงได้หรือเปล่า หากนำระบบนี้มาใช้ ก็จะสามารถแก้ปัญหาข้างต้นได้
ตามที่ได้แนะนำไปใน “สัมมนาครั้งที่ 1 อยากรู้จัก RPA ให้มากขึ้น” เพราะว่า RPA คือ IT โรบอท จึงไม่รู้สึกเหนื่อยล้าแบบมนุษย์ ไม่มองข้ามความผิดพลาดเล็กๆน้อยๆและป้องกันการเกิดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น หรือพูดได้ว่า การใช้ RPA จะลด “เวลาที่ใช้ตรวจสอบ” หาสาเหตุของความผิดพลาดของปัญหาที่เกิดขึ้นจากความผิดพลาดโดยมนุษย์
เวลากรอกข้อมูลจำนวนมากนั้น ถึงแม้จะระมัดระวังขนาดไหน การที่จะมองข้าม, มองพลาดไปหรือการพิมพ์พลาดนั้นก็เป็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ง่าย
โดยเฉพาะการกรอกตัวเลข ความผิดพลาดจะเกิดได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งมันส่งผลทำให้เกิดความเสียหายตามมา เช่น “จำนวนเงินยอดรวมไม่ตรงกัน” “ส่งสินค้าผิดพลาด” “จำนวนคลังสินค้าไม่ตรงกัน”
โรบอทนั้นทำงานตามคำสั่งที่ได้รับมาโดยอัตโนมัติ จึงไม่เกิดความผิดพลาดง่ายดายแบบมนุษย์ และRPA นั้นจะกรอกข้อมูลอย่างถูกต้องตามข้อมูลที่ได้รับมาโดยไม่เกิดความผิดพลาด
ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องมาเสียเวลาเช็คซ้ำอีกครั้ง สิ่งเดียวที่คนจะทำก็คือแค่เช็คผลลัพธ์ในตอนสุดท้ายเมื่อ เช่น ยอดรวมของจำนวนเงิน เป็นต้น
ในกรณีที่ต้องทำงานซ้ำๆ ก็อาจจะ “เผลอ” ทำพลาดหรือลืมใส่ข้อมูลทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้น
RPA จะดำเนินการตามลำดับขั้นตอนโดยอัตโนมัติ ดังนั้นจึงจะไม่มีเหตุการณ์ “เผลอ” เกิดขึ้น
เพื่อที่จะให้งานเสร็จได้รวดเร็วมากขึ้น RPA จะสามารถลดจำนวนการทำงานลง นอกจากนั้น ในกรณีของมนุษย์นั้นในขณะที่กำลังทำงานจะมีบางครั้งใช้โทรศัพท์หหรือทำธุระอื่น อีกทั้งยังมีเวลาพัก การจะตั้งใจทำงานชิ้นนึงอย่างต่อเนื่องก็เป็นเรื่องที่ยาก แต่ถ้าหากว่าสามารถจดจ่อทำงานเดิมได้โดยใช้เวลา 10 ชั่วโมง แต่ทำอย่างอื่นไปด้วย ก็จะใช้เวลาที่มากกว่านั้นอยู่ดี แต่ทว่า RPA สามารถจดจ่อกับงาน1ชิ้นได้ตลอดเวลา จึงใช้เวลาทำงานได้เร็วยิ่งขึ้น
ในประเทศไทยมีการย้ายงานมากก ดังนั้นการที่จะกังวลเรื่องปัญหาการถ่ายทอดงานเมื่อมีคนลาออกก็มีอยู่ไม่น้อย เช่น “มีแค่คุณAที่รู้” “ถ้าไม่ใช่คุณ A ก็ดำเนินการต่อไม่ได้” ซึ่งในบางกรณีจะสามารถแก้ปัญหาการถ่ายทอดงานโดย RPA ได้
แต่เดิมทีปัญหาการถ่ายทอดงานนั้น คือ การที่มีเพียงคุณ A เท่านั้นที่ทำงานนั้นได้และไม่สามารถหาใครมาแทนคุณ A ได้
ดังนั้นหากมีสถานการณ์ที่ RPA หรือโรบอทซึ่งเป็นตัวแทนสามารถทำงานแทนได้ ปัญหาการถ่ายทอดงานก็จะหมดไป
สาเหตุอันดับ 1 จากปัญหาการถ่ายทอดงานก็คือ “ขั้นตอนการทำงานที่มีเพียงคนๆนั้นเข้าใจ” เช่น การที่คุณ A ได้วาดขั้นตอนการทำงานในหัวเอาไว้แล้ว ดังนั้นคนอื่นจะไม่สามารถมองเห็นขั้นตอนการทำงานนั้นได้
แต่ทว่า RPA นั้นคือโรบอท การจะอธิบายขั้นตอนการทำงานอย่างชัดเจนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เพื่อที่จะสามารถอธิบายขั้นตอนการทำงานให้กับ RPA นั้นอย่างแรกต้องจัดการและตรวจสอบขั้นตอนการทำงานเสียก่อน หากในขั้นตอนการทำงาน มีขั้นตอนไหนที่เปล่าประโยชน์หรือไม่สามารถใช้ได้ก็ต้องตรวจสอบเนื้อหาหรือขั้นตอนการทำงานใหม่และ “ปรับเปลี่ยนขั้นตอนการทำงาน” หลังจากนั้นก็จะให้ RPA จำข้อมูลขั้นตอนการทำงานที่ได้จัดการหรือแก้ไขใหม่แล้ว
ในการที่ได้รับการช่วยเหลือจาก RPA นั้น แผนกที่รับผิดชอบในการนำ RPA เข้ามาใช้จริงในประเทศไทยต่างก็มีความเห็นเดียวกันจากผู้จัดการว่า “ทำงานง่ายขึ้น” “สามารถจดจ่อกับงานที่มีค่าที่แท้จริง”
รายละเอียดอยู่ ทางนี้ ↓
[ ตัวอย่างหลังจากนำ RPA เข้ามาใช้ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับผู้จัดการคนหนึ่ง ]
เมื่อให้ RPA ทำงานส่วนหนึ่งแทน ก็ทำให้ภาระงานที่หนักหน่วงนั้นลดลง อีกทั้งลดเวลาการทำงานทั่วไปที่ต้องทำเป็นประจำลงและนำเวลานั้นมาจดจ่อกับงานหลักของบริษัทหรือแผนกและ “ปรับปรุงงาน (KAIZEN)” ยิ่งขึ้น
การที่ผู้จัดการสามารถลดภาระงานลงในแต่ละวัน และสามารถเพิ่มคุณค่าและจดจ่ออยู่กับงานหลักเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้น มันเป็นทางลัดที่เพิ่มกำไรให้บริษัทไม่ใช่หรือ?
เป็นอย่างไรบ้าง พอจะเห็นข้อดีของการนำ RPA เข้ามาใช้ในประเทศไทยหรือยัง
ในตอนสุดท้ายนี้ ลองกลับไปดูบทสรุปข้อดีของการนำRPAเข้ามาใช้ในประเทศไทยกัน
ที่ประเทศไทยนั้น ยังมีการทำงานที่ต้องทำซ้ำๆเพิ่มขึ้น ดังนั้นความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์นั้นก็เกิดขึ้นได้ง่าย และยังกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้จัดการมีภาระหน้าทีเพิ่มมากขึ้นด้วย
ในขณะที่สามารถ “ลดภาระการทำงาน” และ “ป้องกันความผิดพลาดโดยมนุษย์” นั้น การที่จะนำ RPA เข้ามาจะช่วยให้ “การใช้ทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ” อีกนัยหนึ่งสามารถพูดได้ว่าการนำ RPA เข้ามาจะทำให้งานเกิดประสิทธิภาพมากขึ้นไม่ใช่หรือ
สามารถอ่านเนื้อหาเกี่ยวกับโซลูชั่นการทำงานอัตโนมัติด้วย “RPA” ได้ที่นี่
สามารถดูคอลัมน์ “อยากรู้จัก RPA ให้มากกว่านี้ และจะช่วยปรับปรุงการทำงานได้อย่างไร – โดยใช้โซลูชั่นการทำงานแบบอัตโนมัติ” ได้ที่นี่
ไม่เพียงแต่จัดทำ Help Desk ภายในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังสามารถบริหารจัดการ Scenario การทำงานได้ตั้งแต่ต้นจนจบ ทำให้สามารถสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานได้ในระยะยาว
เนื่องจากเป็นบริษัท IT ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องการพัฒนาและติดตั้งระบบในประเทศไทย จึงทำให้มี Know-How ที่จำเป็นในการติดตั้งระบบ RPA เกี่ยวกับ “วิธีที่จะปรับการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น” เป็นอย่างดี
เรื่องจากสามารถให้การสนับสนุนการติดตั้งและการบริการหลังการขายให้กับบุคลากรทั้งในระดับผู้บริหารชาวญี่ปุ่น และระดับพนักงานชาวไทยซึ่งเป็นผู้ใช้เครื่องมือนี้เป็นประจำโดยไม่เกี่ยงภาษา ดังนั้นจึงสามารถช่วยแชร์ข้อมูลและเจตนารมณ์ในการทำงานได้อย่างราบรื่น ทำให้บุคลากรทุกระดับสามารถใช้งาน RPA ได้อย่างวางใจ
หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการปรึกษาเกี่ยวกับโซลูชั่น “RPA” “Office Robot” “UiPath” หรือการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน กรุณาติดต่อเราผ่านทางหน้า “ติดต่อเรา”
Kritanai Satjayakorn (Mr. K)
Tel:094-480-4858
Email:kritanai@csithai.com