top of page
merchandise1.png

พัฒนา Merchandise Business ด้วย
Digital Transformation

1

ในปัจจุบัน การใช้ชีวิตของผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างมาก ผู้บริโภคมีความสะดวกมากขึ้นในการเลือกซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังร้านค้า ห้างสรรพสินค้า เพื่อซื้อสินค้าที่ต้องการ รวมถึงการการสั่งอาหารผ่านช่องทางออนไลน์ด้วยเช่นกัน ดังนั้นธุรกิจต่างๆ

เพื่อความอยู่รอดนั้นจึงต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน โดยการที่จะพัฒนาธุรกิจให้ก้าวทันธุรกิจอื่นและจะสามารถอยู่รอดต่อไปในโลกของธุรกิจนี้ได้คือการทำ Digital Transformation

Webinar : ส่องนวัตกรรมใหม่ก้าวไกล Future of Thailand

E-commerce & logistic Solution

(Digital Transformation Consultant -

Rungroj Srirattanaroj (Roj))

การทำ Digital Transformation

Digital Transformation มาจากการ Disruption หรือก็คือความปั่นป่วนของธุรกิจที่เกิดอาจเกิดขึ้นมาจากการที่อดีตและปัจจุบันดำเนินธุรกิจ

ไม่เหมือนกัน เมื่อเวลาผ่านไปการดำเนินธุรกิจก็เปลี่ยนไปจากเดิม ดังนั้นเลยต้องมีการ Transform เกิดขึ้น อีกทั้งยังมีเรื่องของคู่แข่ง (Competitor) ใหม่ที่เข้ามาตลาด จึงต้อง transform Business เพื่อหลีกหนีจากการ Disrupt ของCompetitor และเมื่อมีคู่แข่งมากขึ้น

ต้นทุนก็เปลี่ยนไป ซึ่งการปรับตัวนี้ก็คือการ Transform ดังนั้น Digital Disruption คือสาเหตุการทำ Digital Transformation และ Digital Transformation เป็นโซลูชั่นในการหลีกหนี Digital Disruption

iStock-1046611678 [Converted].png

การทำ Merchandise Transformation  

การแบ่ง Generation ของ Merchandise

สำหรับในการทำ eCommerce และการเชื่อมต่อกับระบบหลังบ้านนั้น จำเป็นต้องรู้ก่อนว่าธุรกิจของคุณอยู่ใน Generation ใด หลังจากนั้น

จึงจะสามารถวางแผนได้ว่าจะไป To be ใน Generation ต่อไปได้อย่างไร ซึ่งสามารถแบ่งเป็น Generation ตามลำดับได้ ดังนี้

GEN 1.0 - Traditional store

Generation 1.0 เป็นร้านขายของชำ และเกิดการพัฒนาเป็น GEN 1.1 ,

GEN 1.2 และเริ่มพัฒนาเป็นร้านขายของชำที่เป็นร้านอาหารนอก

ห้างสรรพสินค้า (Stand Alone) ที่ใหญ่ขึ้น มีสินค้าหลากหลายมากขึ้น

กลายเป็น Department store และพัฒนาเป็น Plaza โดยนำร้านค้าขนาดเล็กเล็กไปอยู่ในร้านใหญ่ โดยทั้งหมดนี้เป็นวิวัฒนาการใน Traditional Store แต่จุดที่เหมือนกันคือการเป็น Offline Store

GEN 2.0 - eCommerce [Online / Market Place / Platform]

GEN 2.0 เป็น Generation ของ eCommerce เริ่มมีความเป็นออนไลน์มากขึ้น เริ่มจากการที่ยังไม่มีการจัดหาเรื่อง Logistic, บริการชำระเงินออนไลน์ (Payment Gateway) และพัฒนาเป็น Market place ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็น Mobile Platform ส่วน eCommerce กลายเป็น eCommerce platform เช่น Lazada, Facebook TikTok LineOA แม้สิ่งเหล่านี้จะพัฒนา แต่ทางด้านเว็บออนไลน์ Platform เก่ายังคงอยู่ เช่น Central online, Homepro ซึ่งผู้ผลิตมี Online Web ของผู้ผลิตเอง ทว่าปัญหาคือทุกแพลตฟอร์มถูกจัดหาให้มีความพร้อมของตัวเองแต่ในแต่ละแพลตฟอร์มไม่ได้มีการเชื่อมต่อกันและกัน

เช่น หากต้องการซื้อของจากร้านค้าหนึ่ง จำเป็นต้องเข้า Platform อื่นอย่าง Shopee หรือ Lazada เพื่อเทียบราคา ซึ่ง Platform นั้นไม่ได้เชื่อมต่อ ส่วนในมุมมองของผู้ขายต้องการข้อมูล หากต้องการข้อมูลไปทำวิเคราะห์ก็ไม่สามารถทำได้เพราะข้อมูลอยู่ที่เจ้าของแพลตฟอร์มเอง ไม่ได้อยู่ที่ผู้ผลิตสินค้า ปัญหาเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่พัฒนาไปสู่ GEN 3.0 คือ Connected platform เชื่อมต่อข้อมูลทั้งหมดเข้าหากันได้

GEN 3.0 - Connected Platform [Omni channel]

การทำ GEN 3.0 คือการเชื่อมต่อข้อมูลของ platform ทั้งหมดเข้าหากัน (Connected Data) หมายความว่าผู้ผลิตจะมีข้อมูลอยู่ในมือตัวเอง การรวบรวมข้อมูลไม่ได้อยู่ที่ผู้ขายแต่อยู่ที่ผู้ผลิตสินค้าเป็นหลัก ในขณะที่ผู้ซื้อก็มีความสะดวกมากขึ้น

GEN 4.0 – Personalized Shopping [Intelligent Shopping]

asian-customer-male-shopping-choose-product-from-shelf-store-mall-background.jpg

GEN 4.0 มองจากประโยชน์ของ 3.0 (Connected Data)  เมื่อผู้ผลิตหรือ Maker มีข้อมูลของผู้บริโภคมากพอและข้อมูลนั้นเป็นของผู้ผลิตเอง

ก็สามารถทำ Data Analytic ได้ และสิ่งถัดไปคือ Personalize Shopping หมายถึง การที่ข้อมูลถูกรวบรวมจากทุกแพลตฟอร์มมา Customize และ Personalize ในมุมมองของผู้ซื้อ แพลตฟอร์มมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน

ดังนั้น platform สามารถทำ personalize ในระดับนึง

GEN 5.0 – Virtual Store [Metaverse / Cyber Physical]

digital-wardrobe-transparent-screen.jpg

GEN 5.0 คือ metaverse ในมุมผู้ใช้งานจะหมายถึงการสร้างประสบการณ์ให้ผู้ซื้อแบบ personalize ที่สามารถสร้างประสบการณ์เสมือนการซื้อขายบน Traditional sore บน Cyber world

โดย Connected platform กับ personalize shopping คือการลดช่องว่างระหว่าง Physical world (Traditional Store) กับ Cyber World (eCommerce) แต่ในขณะที่ GEN 5.0 คือการรวม Physical world กับ Cyber World เข้าหากันแบบไร้รอยต่อ

ความสำคัญของ Generation ในการทำ Merchandise Transformation

การก้าวเข้าสู่ eCommerce ธุรกิจนั้นควรจะอยู่ใน Generation ที่ 3 ซึ่งควรทำ Traditional Store แล้วแต่อาจจะยังไม่เชื่อมต่อกับแฟลตฟอร์มหรือเชื่อมต่อกับแฟลตฟอร์ม และควรขยายเข้าไปใน Multi-Platform หลังจากนั้น การทำ To be สู่ GEN 4.0 และ GEN 5.0 จำเป็นต้องเป็น Connected Platform หรือ GEN 3.0 บริษัทส่วนใหญ่ที่เป็น Merchandise นั้นมีโรงงานผลิตเป็นของตัวเอง ดังนั้นการที่จะตอบโจทย์เรื่อง Production Warehouse ก็คือการทำ Transportation Logistic และส่งสินค้าไปยัง offline store ในลำดับสุดท้าย ถัดมาสิ่งที่ต้องทำคือ Online Store หรือ eCommerce โดยเมื่อเพิ่มร้านค้าออนไลน์ เช่น Shopee หรือ Lazada ก็เข้าสู่การทำ Connected Platform ส่วนในมุมของ Business Operation นั้นควรจะมีการบริหารจัดการส่วนที่เป็นออนไลน์ ถ้าในทางปฏิบัติ บริษัทส่วนใหญ่จะแยกทีมในการทำแต่ละแพลตฟอร์ม

เช่น ทีมที่ดูแลเรื่องการทำแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ทีมที่จัดการเรื่องการทำออฟไลน์ และในทางทำงานจริงแล้วอาจมีสิ่งที่บริหารจัดการได้ยากอยู่หลายจุด

ปัจจัยในการเข้าสู่ eCommerce

1

eCommerce Application

การทำ eCommerce Application ในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องยาก และไม่จำเป็นต้องมีร้านค้า สามารถเปิดร้านในตัวแพลตฟอร์มได้

2

Sales Point Management

การบริหารการขาย การทำ Order Management เป็นปัจจัยที่จัดการค่อนข้างยาก เนื่องจากหากลงขายในหลายแพลตฟอร์มก็จะต้องมีทีมที่ดูแต่ละแพลตฟอร์มแยกกัน ซึ่งหากไม่สามารถเรื่องจัดการเรื่องการรับรู้ข้อมูลสินค้าร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะเกิดปัญหาว่าสั่งของไปแล้วในระบบมีสินค้าแต่ในวันส่งจริงนั้นยังไม่มีสินค้า

3

Payment gateway

การทำ Payment Gateway ไม่ใช่เรื่องยากเช่นกัน แต่ปัญหาอาจเกิดจากการจัดการธุรกรรม

4

การเชื่อมต่อกับ Backend เป็นปัจจัยที่ยากในการทำ eCommerce

Backend Interface

Merchandise Framework 4.0 ของ CSI ในการช่วยทำ E-Commerce

ในปัจจุบัน ตลาดได้จัดหา eCommerce Application , Payment Gateway มี User review คือ Digital Experience มี Customer care ให้แต่สิ่งที่ยากนั้นคือจุดหลังบ้าน หรือ Backend นั่นเอง ซึ่งการจะเชื่อม Backend สิ่งที่จะต้องมี คือ Framework ในการพัฒนาระบบที่สามารถทำ Centralize Order Management ได้ โดยหากมี Distribute Order Management จะสามารถเชื่อมต่อระหว่างแพลตฟอร์มต่างๆที่

Stand Alone เข้าหากันและสามารถทำ Centralize Order Management และจาก Centralize Order Management จะสามารถเชื่อมต่อหาระบบหลังบ้านอื่นๆ นั่นก็คือการทำ Supply Chain , Logistic การทำ Warehouse , การจัดการคลังสินค้าstock รวมถึงการทำ Marketing ด้วยเมื่อมีข้อมูลมากก็เป็นหัวใจหลักในการทำ Personalize หรือ 4.0  

diagram.png

CSI มี Framework ที่จะช่วยในการทำ GEN 3.0 ไปสู่ Connected Platform ซึ่งก็คือ Framework ที่ผู้ผลิตสามารถสร้างตัว Engine ได้ โดยจะสามารถจัดการทุกอย่างได้บนตัวของเราเอง ทำการเชื่อมต่อแพลตฟอร์มโดยระบบของเราเอง ไม่ใช่ในแพลตฟอร์ม แต่ทำการเชื่อมต่อแพลตฟอร์มโดยระบบเรา เราจะเชื่อมต่อกับระบบต่างๆ เช่น Warehouse , Enterprise Management , Enterprise Planning ซึ่ง Merchandise Framework 4.0 ของ CSI จะสามารถรองรับได้อย่างครบถ้วน ดังนี้

  • B2B / B2C Application

  • Payment Gateway

  • Merchandising API

  • Order Management

  • Warehouse & Inventory

  • Supply Chain & Logistic

  • Customer Management

  • Data Analytic

โดย Framework นี้นั้นอยู่ภายใต้เทคโนโลยี AI Bigdata IoT ซึ่งหมายความว่า Framework ตัวนี้นี้พร้อมจะ transform จาก GEN 2.5 เป็น

GEN 3.0 เต็มตัวและไป GEN 4.0 ในท้ายที่สุดนั่นเอง

Screenshot 2566-06-26 at 15.47.00.png

ข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง

สำหรับ Warehouse และ E-Commerce

bottom of page